มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี




มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้เริ่มก่อตั้งที่ตำบลรูสมิแลอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี รูปภาพในระยะแรกใช้ชื่อว่า " มหาวิทยาลัยภาคใต้ " ( มหาวิทยาลัยในภาคใต้ )

กศน.ปัตตานี

สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี


ศนจ.ปัตตานีประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2524 โดยตั้งสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่โรงเรียนฝึกฝนเคลื่อนที่ 46 หน้าศาลากลางจังหวัดปี 2525 กรมการศึกษานอกโรงเรียนอนุมัติโอนชั้นเรียนโรงเรียนฝึกฝนเคลื่อนที่ 46 พร้อมด้วยโรงเรียนผู้ใหญ่เคลื่อนที่ 6,7,8 และห้องสมุดประชาชนมาเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปัตตานี

ท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี

สํานักงานท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี



เมืองปัตตานีได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายูมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ . ศ .1991-2031 ) และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาสามารถพ . ศ . 2588 โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จและพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายูประกอบกับพระราชาธิบดีที่ 2 ( พ . ศ .2034-2072 ) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเลเช่นนครศรีธรรมราชมะริดตะนาวศรีรวมทั้งปัตตานีด้วยทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่งทั้งชาวอินเดียจีนและญี่ปุ่นสินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้นได้แก่ไม้กฤษณาไม้ฝางเครื่องเทศของป่างาช้างและนอแรดนอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติเช่นเครื่องถ้วยชามอาวุธดินปืนและผ้าไหม ( สถาบันทักษิณคดีศึกษา :2529 )



สสจ.ปัตตานี - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

บริการข้อมูลข่าวสารงานสารธารณสุขของสำนักงานสารธารณสุขจังหวัดปัตตานี



งานบริการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
งานยุทธศาสตร์
สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
งานควบคุมโรคติดต่อ
งานอนามัยแม่และเด็ก
งานผู้สูงอายุ
งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
งานการเจ้าหน้าที่
งานประกันสุขภาพ
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

สช.ปัตตานี

สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชนในประเทศไทยเชื่อว่าการศึกษาประเภทนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วโดยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ ถึง ๒๒๓๑) จดหมายเหตุของมองสิเออสานิเยร์กล่าวว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ทรงสร้างโรงเรียนราษฎร์ไว้หลายโรงเรียนและจากจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอซัวลีซึ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๒๘ ได้กล่าวถึงโรงเรียนราษฎร์ ๓ โรงคือโรงเรียนศรีอยุธยาโรงเรียนนมัสแพรนด์และโรงเรียนสามเณร

เดชะปัตตานี

โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูลเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดปัตตานีและเคยเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดปัตตานี
ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษเปิดสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนการสอนจนเป็นที่ยอมรับของสังคมประกอบด้วยศูนย์ภาษาสากล ,เอริค ศูนย์วิทย์ - คณิตศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดฯลฯ , ซึ่งส่งผลให้เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานแห่งหนึ่งของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประวัติของโรงเรียนเดชะปัตตานี
เดชะ : เป็นคำที่ตัดย่อมาจากนามพระยาเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานีผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน
ปัตตนยานุกูล :เกิดจากการสนธิกันของคำว่าปัตตานีซึ่งมีความหมายสถานที่ตั้งกับคำว่าอนุกูลหมายถึงการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเดชะปัตตนยากูลเดิมมีชื่อเรียกกันว่า " โรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานี " ผู้ที่ริเริ่มตั้งโรงเรียนนี้คุณหญิงเดชานุชิตภรรยาของมหาอำมาตย์ตรีพระยาเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานีในขณะนั้นซึ่งชาวเมืองปัตตานีรู้จักคุณหญิงเดชานุชิตในนามคุณหญิงแหม่มในสมัยมณฑลปัตตานีมีโรงเรียนแห่งเดียวคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี

เทคนิคปัตตานี



วิทยาลัยเทคนิคปัตตานีประวัติวิทยาลัยฯเดิมชื่อ " โรงเรียนช่างไม้ถนนสะบารัง " ตั้งอยู่ที่ถนนสะบารังอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ 3 ไร่เศษเป็นที่ดินราชพัสดุจังหวัดเริ่มเปิดสอน
เมื่อพ . ศ .2481 มีโรงฝึกงาน 1 หลังบ้านพักครู 2 หลังอาคารเรียนอาศัยอาคารเดิมซึ่งเป็นสถานที่ราชการของจังหวัด ( หน่วยศึกษานิเทศน์ใน - ปัจจุบัน ) ทำพิธีเปิดเรียน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2481 นายประสิทธิ์คนตรงศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีเป็นประธานทำพิธีเปิดมีครู 1 คนนักเรียน 26 คนนายทองอยู่กมรรัตน์เป็นครูใหญ่ดำเนินการสอนมาได้ 3 ปีเศษก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ได้ยึดอาคารสถานที่ของโรงเรียนเป็นที่พักทำให้การเรียนการสอนต้องหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง
ภายหลังจากกองทัพญี่ปุ่นพ่ายแพ้และถอนตัวออกไปแล้วโรงเรียนก็ยังเปิดทำการสอนไม่ได้เพราะไม่มีนักเรียนมาเรียนและมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารเครื่องมือจะเครื่องใช้ต่าง
ของโรงเรียนสูญหายและชำรุดเป็นส่วนมากต่อมาในปีการศึกษา 2492 มีนักเรียนมาสมัครจำนวน 16 คนมีครู 3 คนเปิดทำการสอนตามหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาหลักสูตรระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น 3 .4 ปีการศึกษาและกรมอาชีวศึกษาได้ขยายหลักสูตรเพิ่มอีกเป็นระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย
3 .แผนกช่างไม้ปลูกสร้างรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมปีที่ 3 สายสามัญมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 84 คน